ในวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.30 – 13.40 น. ณ อ่าวนางแลนด์มาร์คไนท์มาร์เก็ต
ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
การประชุมหารือแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการ U2T for BCG ในพื้นที่ภาคใต้ (จังหวัดกระบี่) โดย รองอธิการบดี (รองศาสตราจารย์ ดร.ศราวุธ ปาลิโภชน์)
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับมอบหมายจากกระรวง อว. ให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้า ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ในนามของ อว.ส่วนหน้าจังหวัด “จังหวัดกระบี่” ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ (ผศ.ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ U2T for BCG ภาพรวม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
วันนี้ได้มีคณะ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ชุมชนตัวแทนกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการ U2T for BCG ในพื้นที่ภาคใต้ เข้าร่วมงาน ในวันนี้ ได้แก่ เลขานุการรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ดร.ดนุช ตันเทดทิตย์) , หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการเครือข่าย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมระดับภาค ภาคใต้ (นางสาวดาวริน สุขเกษม) , นายกสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ (นายชวน ภูเก้าล้วน) , ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่(นางคันธรส รองรัตนพันธุ์) , อุตสาหกรรมจังหวัดกระบี่ (นายวัชรินทร์ ไชยานุพงศ์) , หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ (นางสาวธนิษฐา ปานนิล) , ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ผศ.ดร.อนุรักษ์ ถุงทอง) , ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ผศ.ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี)
ปี พ.ศ. 2564 ได้รับการอนุมัติดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ระยะเวลา 11 เดือนงบประมาณ 95,040,000 บาท พื้นที่ดำเนินโครงการ 36 ตำบล 13 อำเภอ 4 จังหวัด (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกระบี่) ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ 1) มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อตำบล 14,400 บาท/ครัวเรือน 2) การเพิ่มผลผลิต (productivity) ต้นทุนที่ลดลงเฉลี่ยต่อตำบล 8,000 บาท/ครัวเรือน ผลลัพธ์เชิงสังคม 1) คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2) การย้ายถิ่นฐานเพื่อออกไปหางานทำลดลง 3) ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของคนในชุมชน 4) การเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง 5) เกิดต้นแบบศูนย์เรียนรู้ 6) เพิ่มความเข้มแข็งของเครือขยายกลุ่มทั้งภายในและภายนอกชุมชน
ปี พ.ศ. 2565 ได้รับการอนุมัติดำเนินโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ระยะเวลา 3 เดือน งบประมาณ 27,936,000 บาท พื้นที่ดำเนินโครงการ 85 ตำบล 16 อำเภอ 4 จังหวัด (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกระบี่) ผลลัพธ์ภาพรวมโครงการ ร้อยละ 70 ของผลิตภัณฑ์มีการจำหน่ายได้ และมีการเพิ่มการจ้างงานและรายได้ จากผลิตภัณฑ์/บริการ จำนวน 180 ชิ้นงาน จำแนกออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) อาหารและเกษตร 137 ชิ้นงาน 2) การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 28 ชิ้นงาน 3) สุขภาพและเครื่องมือแพทย์ 11 ชิ้นงาน 4) พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ 4 ชิ้นงาน) ภาคีการมีส่วนร่วม จำนวนทั้งสิ้น 269 หน่วยงาน (จังหวัด/อปท./รพ.สต./โรงเรียน กศน./อำเภอ/ศูนย์อำนวยการ/ ศูนย์วิจัยชุมชน/เบทาโกร/เซนทรัล)
มหาวิทยาลัยที่ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ประกอบด้วย 5 สถาบันการศึกษา ได้แก่ 1. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รับผิดชอบดูแล 11 ตำบล (เกาะลันตาใหญ่ คลองท่อมเหนือ คลองท่อมใต้ ดินอุดม ดินแดง ทุ่งไทรทอง ศาลาด่าน ห้วยน้ำขาว เพหลา พรุดินนา ลำทับ) 2. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับผิดชอบดูแล 15 ตำบล (เขาทอง อ่าวนาง กระบี่ใหม่ คลองประสงค์ หนองทะเล คลองยา ตลิ่งชัน เขาดิน ทับปริก ไสไทย แหลมสัก อ่าวลึกเหนือ ปากน้ำ เขาคราม เกาะกลาง) 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต รับผิดชอบดูแล 18 ตำบล (คลองท่อม ปลายพระยา พรุเตียว เขาพนม คลองเขม้า กระบี่น้อย อ่าวลึกน้อย เขาต่อ คลองหิน เกาะลันตาน้อย นาเหนือ อ่าวลึกใต้ คีรีวง คลองยาง บ้านกลาง เขาใหญ่ คลองยาง เขาเขน) 4. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช รับผิดชอบดูแล 3 ตำบล (โคกหาร หน้าเขา สินปุน) 5.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รับผิดชอบดูแล 1 ตำบล (เกาะศรีบอยา) และ 6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย รับผิดชอบดูแล 6 ตำบล (ทรายขาว คลองขนาน ปกาสัย โคกยาง เหนือคลอง ห้วยยุง) และภาคีเครือข่ายที่เข้ามามีส่วนร่วมจากพื้นที่ ได้แก่ หน่วยงานจากภาครัฐและภาคเอกชน (จังหวัด/หอการค้าจังหวัดกระบี่/สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ /พัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่/ สภาการศึกษาจังหวัดกระบี่/ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกระบี่/สถาบันการศึกษา/วิสหกิจชุมชชน) ผลิตภัณฑ์เด่นๆ ในพื้นที่ อาทิเช่น น้ำพริกแม่บ้านหัวแหลม ผ้าปาเต๊ะ ผ้าบาติก ผ้ามัดย้อมดิน กะลามะพร้าว ข้าวสังข์หยดบ้านเกาะกลาง โกโก้เมืองกระบี่ เครื่องแกงห้วยใต้ มูลไส้เดือนจากมูลแพะ เนื้อแพะแดดเดียว น้ำมันปาล์มแดง เครื่องแกง ปูนิ่ม ผลิตภัณฑ์น้ำสับปะรด กล้วยฉาบ สบู่ DIY เป็นต้น
จากผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา เพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อย่างต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งได้กำหนดจัดขึ้นในวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการ และยกระดับผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการ U2T for BCG รวมถึงแนวทางการขยายช่องทางการตลาดให้มากขึ้น ต่อกลุ่มเป้าหมาย: ผู้บริหาร อาจารย์และบุคลากรสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ประกอบการโครงการ U2T for BCG นั้น
ในครั้งนี้ เพื่อร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อคิดเห็นประเด็นความต้องการของผู้ประกอบการ U2T for BCG ที่ต้องการยกระดับผลิตภัณฑ์ รวมถึงส่งเสริมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ U2T for BCG ให้ขยายกว้างขึ้น และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่ (จังหวัดกระบี่) ทำให้สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่หรือกำลังดำเนินการได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานที่มีองค์ความรู้เฉพาะด้าน และยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในพื้นที่ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในแต่ละตำบล ด้วยการใช้เทคโนโลยีและส่งเสริมการตลาดแบบดิจิทัล ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน ผ่านหน่วยงานของกระทรวง อว. อว.ส่วนหน้า และมหาวิทยาลัย ให้สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ใคร่ขอขอบคุณ คุณพรทิพย์ กิตติธรกุล ประธานกรรมการ บริษัทอ่าวนาง แลนด์มาร์ค จำกัด ในความอนุเคราะห์ให้เข้าใช้สถานที่ สำหรับจัดงานครั้งนี้
Tags
สภาการศึกษา กระบี่