สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปผลการศึกษาโครงการจัดการพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพและมาตรการจูงใจในการอนุรักษ์นกอพยพและใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกอพยพ อย่างยั่งยืน ในพื้นที่เครือข่ายนกอพยพปากแม่น้ำกระบี่
วันนี้ (10 สิงหาคม 2566) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการจัดการพื้นที่ ที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพและมาตรการจูงใจในการอนุรักษ์นกอพยพและใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกอพยพ อย่างยั่งยืน ในพื้นที่เครือข่ายนกอพยพปากแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่ ณโรงเรียนบ้านคลองประสงค์ ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นสถานที่มีนกอพยพหนีหนาวจากไซบีเรีย ประเทศรัสเซียมายังจังหวัดกระบี่ ก่อนที่จะกลับไปช่วงการผสมพันธุ์ ตามฤดูกาล
โดย นายสมชาย หาญภักดีปฏิมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการฯ
นางสาวจิตตินันท์ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการกองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ กล่าวรายงาน มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่โดยรอบพื้นที่นกอพยพ ปากแม่น้ำกระบี่ เข้าร่วมประมาณ 100 คน พร้อมชูชุมชนบ้านเกาะกลาง ชุมชนบ้านคลองประสงค์ มีความเหมาะสมทั้งทางเศรษฐศาสตร์ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการอนุรักษ์นกอพยพ
ย้ำ! นกที่เป็นพระเอกของปากแม่น้ำกระบี่ บริเวณ "คลองทะลุ" ต.คลองประสงค์ เมืองกระบี่มีถึง 6 ชนิด ได้แก่ นกทะเลขาเขียวลายจุด (Nordmann's Greenshank),นกหัวโตทรายเล็ก (Lesser Sand Plover),นกหัวโตทรายใหญ่ (Greater Sand Plover),นกหัวโตขาดำ (Kentish Plover),นกซ่อมทะเลอกแดง (Asian Dowitcher) นกน็อตใหญ่ (Great Knot)
นางสาวจิตตินันท์ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการกองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพกล่าวถึง
โครงการจัดการพื้นที่ ที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพและมาตรการจูงใจในการอนุรักษ์นกอพยพและใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกอพยพ อย่างยั่งยืน ในพื้นที่เครือข่ายนกอพยพปากแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่ ว่า โครงการฯ ได้เริ่มดำเนินการศึกษา มาตั้งแต่ เดือนมกราคม 2566 โดยคัดเลือกพื้นที่ปากแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่ เป็นพื้นที่ทำงาน โดยมีกิจกรรมสำคัญ คือ การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานสถานภาพทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งในด้านกายภาพ ชีวภาพ สังคม เศรษฐกิจ ของพื้นที่ปากแม่น้ำกระบี่ การรวบรวมข้อมูลเครื่องมือ กลไกทางเศรษฐศาสตและรอบด้าน โดยอาศัยกระบวนการ ปรึกษาหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ ตลอดระยะเวลาของการดำเนินโครงการจนมาสู่การคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย ในการจัดทำ กลไกทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการจูงใจในการอนุรักษ์ นกอพยพ คือ พื้นที่บ้านเกาะกลาง บ้านคลองประสงค์ ตำบลคลองประสงค์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการพบ นกอพยพมากอีกแห่งหนึ่ง ที่มาจากไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย ที่หนีหนาวมาพักพิงที่จ.กระบี่ แล้วจะบินกลับไปในช่วงของฤดูผสมพันธุ์
ในขณะเดียวกัน ที่ชุมชนบ้านเกาะกลาง บ้าคลองประสงค์ ยังคงเสน่ห์ของวิถีชีวิตชุมชนที่เรียบง่ายและเป็นอัตลักษณ์ มีการวมกลุ่ม เพื่อสร้างมูลค่า จากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ประมงพื้นบ้าน การทำกะปิ การประดิษฐ์เรือหัวโทงเป็นของที่ระลึก การทำผ้าบาติก ผ้ามัดย้อม หัตถกรรมจาก กะลามะพร้าว การทำนาปลูกข้าว และ ป่าชายเลน การบริการเรือหัวโทงนำเที่ยว และมีสถานที่ท่องเที่ยววิถีชุมชน สถานประกอบการ อาการ ที่พัก รองรับนทท. และชุมชนร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ซึ่งทางโครงการฯ ได้นำมาสู่ข้อเสนอ กลไกทางเศรษฐศาสตร์และมาตรการจูงใจในการอนุรักษ์นกอพยพและการใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัย ในรูปแบบของนวัตกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่บูรณาการมาตรการบริหารจัดการ กลไกการตลาด และการสร้างแรงจูงใจหรือสนับสนุนเศรษฐกิจควบคู่ไปกับ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานความต้องการของชุมชน
และผลการศึกษา จะได้สรุปจัดทำแผน ให้ชุมชน ท้องที่ อำเภอ จังหวัด ได้มีการนำต่อยอด จากผลการศึกษาโครงการจัดการพื้นที่ ที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพและมาตรการจูงใจในการอนุรักษ์นกอพยพและใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกอพยพ อย่างยั่งยืน ในพื้นที่เครือข่ายนกอพยพปากแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่ ในอนาคต